Stay on this page and when the timer ends, click 'Continue' to proceed.

Continue in 17 seconds

เปิดงบดุลปางช้างฝรั่งเตะหมอ ปี 65 รายได้ 46 ล้าน เมียฝรั่งโวช่วงโควิดสามีควักส่วนตัว 40 ล้านดูแลช้าง-คนงาน ยังไม่รับบริจาคแม้บาทเดียว

เปิดงบดุลปางช้างฝรั่งเตะหมอ ปี 65 รายได้ 46 ล้าน เมียฝรั่งโวช่วงโควิดสามีควักส่วนตัว 40 ล้านดูแลช้าง-คนงาน ยังไม่รับบริจาคแม้บาทเดียว

Source: mgronline.com

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ส่องปางช้าง-มูลนิธิช่วยเหลือช้าง ธุรกิจฝรั่งคู่กรณีแพทย์หญิง งบดุลปี 65 รายได้ 46 ล้าน กำไรกว่า 7 ล้านบาท ด้านเมียฝรั่งเผยมูลนิธิยังไม่เปิดรับบริจาคแม้แต่บาทเดียว โวช่วงโควิดสามีควักเงินส่วนตัว 40 ล้าน ให้ปางช้างอยู่รอดโดยไม่ปลดพนักงาน อ้างเก็บเงินคนละ 2,500 บาท เป็นค่ารถรับส่ง-ค่าเล่นกับช้าง-ค่าอาหาร โดยอยู่ในปางช้างได้เกือบ 2 ชม.

จากกรณี แพทย์หญิงโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ได้ร้องเรียนและแจ้งความดำเนินคดีกับชายชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นเจ้าของปางช้างและมูลนิธิเกี่ยวกับการดูช้างแห่งหนึ่งในภูเก็ต ในข้อหาทำร้ายร่างกาย จากที่แพทย์หญิงรายดังกล่าวพร้อมเพื่อนสาวได้ไปเล่นที่ชายหาดอ่าวยามู ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ในคืนวันมาฆบูชา แล้วไปนั่งพักที่บันไดซีเมนต์ขั้นสุดท้ายริมชายหาด และถูกชายชาวต่างชาติเตะที่หลังจนจุก พร้อมด้วยภรรยาคนไทย พูดจาดูถูกเหยียดยามศักดิ์คนไทยและคนท้องถิ่นภูเก็ต แต่ชายชาวต่างชาติได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เตะแต่เป็นการสะดุดไปโดนหลังแพทย์หญิง จนกลายเป็นกระแสดังอยู่ในขณะนี้

โซเชียลได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับตัวนาย นายอูรส์ บีท เฟอร์ หรือ เดวิด อายุ 45 ปี ชาวสวิส และ นางคะนึงนิจ ซทาล์ดเอคเกอร์ ภรรยาชาวไทย ว่าทำธุรกิจอะไรในภูเก็ตถึงสามารถเช่าวิลล่าหรูได้เดือนละ 1 ล้านบาท ตามที่นางคะนึงนิจได้ด่าทอคุณหมอในคืนเกิดเหตุ พร้อมทั้งขุดคุ้ยธุรกิจของนายเดวิดในภูเก็ต จนพบว่า นายเดวิด มีภรรยาเป็นคนไทย คือ นางคะนึงนิจ ซทาล์ดเอคเกอร์ ที่กล่าววาจาหยาบคายและเหยียดหยามแพทย์หญิงธารดาวในคืนเกิดเหตุ และอ้างว่ามีลูกชายเป็นตำรวจ และรู้จักกับนายตำรวจใหญ่ในภูเก็ตนั้น นางคะนึงนิจมีลูกเป็นตำรวจตามที่กล่าวอ้างจริง เป็นตำรวจระดับนายสิบ อยู่ที่โรงพักเชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

ขณะที่ นายเดวิดและนางคะนึงนิจ ได้ทำธุรกิจปางช้าง ชื่อ Green Elephant Sanctuary Park Phuket ตั้งอยู่ เลขที่ 4 ซ.1 ถ.ศรีสุนทร ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จดทะเบียนชื่อ บริษัท อีเลเฟนท์ แซงชัวรี่ พาร์ค ภูเก็ต จำกัด ซึ่งตามหนังสือจดทะเบียนของสำนักงานทะเบียนธุรกิจการค้า ระบุว่า บริษัท อีเลเฟนท์ แซงชัวรี่ พาร์ค ภูเก็ต จำกัด ได้จดทะเบียน เมื่อวันที่ 07 มี.ค. 2560 ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท แต่ในอีก 8 เดือนต่อมา คือวันที่ 1 พ.ย. เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 4,000,000 บาท ทำธุรกิจเป็นตัวแทนธุรกิจจัดนำเที่ยว และกิจกรรมการแสดงโชว์เพื่อความบันเทิงและการนันทนาการ มีกรรมการ จำนวน 3 คน ประกอบด้วย นางคนึงนิจ ชทาล์ดเอคเกอร์ นายอูรส์ บีท เฟอร์ ชาวสวิส และนายนิคม จ่าทองคำ

.

มีรายงานการส่งงบการเงินทุกปี ตั้งแต่ปี 2560 - 2566 มีสินทรัพย์รวมในปี 2565 จำนวน 21 ล้านบาท แต่มีหนี้สินรวมกับสัดส่วนผู้ถือหุ้น 21,967,364 บาท มีรายได้รวมในปี 2565 จำนวน 46 ล้าน แต่ก็มีต้นทุนการขาย 14 ล้าน มีค่าใช้จ่ายรวม ทั้งการขายและบริหารมากถึง 38 ล้านบาท ทำให้มีกำไรก่อนหักภาษีประมาณ 7 ล้านบาท

นอกจากนี้ ในโซเชียลมีเดียยังระบุอีกว่า ปัจจุบัน นายเดวิด เจ้าของปางช้าง มีแนวคิดจะระดมทุนทำมูลนิธิ เพื่อเปิดคลินิกรักษาช้างฟรีในจังหวัดภูเก็ต

จากการตรวจสอบกับฝ่ายปกครองของจังหวัดภูเก็ต พบว่านายเดวิดมีการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์ช้างขึ้นจริง โดยชื่อว่า มูลนิธิ กรีน อีเลเฟนท์ ไวดไลฟ์ ซึ่งเดิมทีนั้น มูลนิธิดังกล่าวชื่อมูลนิธิ กรีน อีเลเฟนท์ ตั้งอยู่ที่ตำเชิงทะเล เมื่อปี 2564 และต่อมาในปี 2566 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น มูลนิธิ กรีน อีเลเฟนท์ ไวดไลฟ์ และเปลี่ยนที่ตั้งสำนักงานใหญ่มาอยู่ในพื้นที่ป่าคลอก คาดว่าเป็นที่ทำการของปางช้าง พร้อมทั้งมีการเปลี่ยนกรรมการบริหารมูลนิธิ และประธานมูลนิธิจากนางคะนึงนิจ ภรรยา นายเดวิด มาเป็นนายเดวิด แทน โดยมูลนิธิดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ในการดูแลรักษาเยียวยาช้างที่ได้รับบาดเจ็บจากการใช้แรงงาน มีเงินจดทะเบียนแรกตั้ง จำนวน 500,000 บาท และใช้สัญลักษณ์มูลนิธิเป็นรูปหัวช้าง ตามข้อความที่ปรากฎในเอกสารการจดทะเบียนมูลนิธิ ว่า รูปหัวช้างที่มีอาการเศร้าหมอง เนื่องจากถูกบุคคลหรือผู้ใดบีบบังคับให้ใช้แรงงานหรือไม่เหมาะกับชีวิตของช้าง

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า โลโก้ของมูลนิธิ กรีน อีเลเฟนท์ ไวดไลฟ์ เป็นโลโก้แบบเดียวกับโลโก้ของปางช้าง Green elephant sanctuary park Phuket จึงเป็นที่น่าสังเกตว่ามีความเกี่ยวข้องกัน

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นางคนึงนิจ ชทาล์ดเอคเกอร์ ภรรยานายเดวิด กล่าวว่า มูลนิธิ กรีน อีเลเฟนท์ ไวดไลฟ์ ตั้งขึ้นมาเพื่อให้การช่วยเหลือช้าง ได้รับบาดเจ็บ และยังไม่ได้ดำเนินการในเรื่องของการระดมทุนแต่อย่างใด เงินที่ใช้ในการเริ่มต้นเป็นเงินของส่วนตัวของนายเดวิด จำนวน 500,000 บาท และในช่วงที่เกิดโควิดระบาดนายเดวิดก็นำเงินส่วนตัวจากต่างประเทศมาช่วยเหลือช้างในศูนย์จำนวน 40 ล้านบาทไปก่อน เพื่อมาเลี้ยงช้าง มาดูแลพนักงาน โดยที่ไม่มีการปลอดพนักงานออกแม้แต่คนเดียว เพื่อพยุงสถานการณ์ไปให้รอด ยืนยันว่าเงินทุกบาททุกสตางค์เป็นเงินส่วนตัวของนายเดวิด ไม่ใช่เงินที่ได้ใช้เงินของมูลนิธิแม้แต่บาทเดียว มีการแยกส่วนกันอย่างชัดเจน

ส่วนที่เก็บเงินค่าเข้าศูนย์อนุรักษ์ช้าง หรือ Green elephant sanctuary park Phuket คนละ 2,500 บาท และเด็ก 1,000 บาท นั้น เป็นในส่วนของ Green elephant sanctuary park Phuket ซึ่งในเก็บค่าเข้า 2,500 บาทนั้น เป็นค่ารถรับส่งจากโรงแรมที่พักมาถึงปางช้าง ค่าป้อนอาหารช้าง เล่นกับช้าง และบริการอาหารไทย ซึ่งนักท่องเที่ยวจะใช้เวลาอยู่ภายในปางช้างเกือบ 2 ชั่วโมง

นางคะนึงนิจ กล่าวอีกว่า ตนยินดีที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบทั้งในส่วนของการดำเนินการของมูลนิธิ กรีน อีเลเฟนท์ ไวดไลฟ์ และธุรกิจปางช้างของตนและนายเดวิด ที่ปางช้าง Green elephant sanctuary park Phuket เพราะตนมั่นใจว่าดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดทุกอย่าง สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ตลอดเวลา

Could not load content